ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหาร "โมดิ"
ประกอบด้วยสาร ชาเรนติน (Charantin) จากมะระขี้นก ที่ทำหน้าที่คล้ายอินซูลิน สามารถทดแทนอินซูลิน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนประกอบสำคัญ :
สารสกัดจากมะระขี้นก (Bitter Curcumber Extract),
สารสกัดจากมะเขือเทศ (Tomato Powder),
สารสกัดจากขมิ้น (Curcuminoids),
ไนอะซิน (Niacin Vitamin B3)
สารสกัดมะระขี้นก ซึ่งมีสารชาแรนติน (Charantin) ที่มีผลต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดการสร้างน้ำตาลจากตับ และเสริมสร้างการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน
สารสกัดมะเขือเทศ ที่มีส่วนผสมของไลโคปีนโดยสารไลโคปีนในมะเขือเทศนี้จากงานวิจัยพบว่าจะทำหน้าที่ลดระดับน้ำตาลในเลือด ผช.ศ.ดร.สจวร์ต เวลส์ จากวิทยาลัยแพทย์ มหาวิทยาลัยนิวยอร์กกล่าวว่า เมื่อเกล็ดเลือดเกาะตัวกัน มันจะลอยไปอุดตันตามที่ต่างๆ อย่างเส้นเลือดเลี้ยงสมองเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ ซึ่งสภาวะเช่นนี้เป็นปัญหาที่พบมากในผู้ป่วยโรคหัวใจ และโรคเบาหวานจากการให้อาสาสมัครผู้ป่วยเบาหวานชาย 14 คน หญิง 6 คน ช่วงอายุ 32-48 ปี แบ่งกลุ่มดื่มน้ำมะเขือเทศ และเครื่องดื่มแต่งกลิ่นน้ำมะเขือเทศ พบว่ากลุ่มที่ดื่มน้ำมะเขือเทศแท้ มีภาวะอุดตันของเกล็ดเลือดลดลงในระดับต่ำมาก ส่วนกลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มแต่งกลิ่นสังเคราะห์ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ
สารเคอร์คูมินอยด์ (Curcuminiod) ที่ได้จากกระบวนการการสกัดขมิ้นชันที่มีประสิทธิภาพสารเคอร์คูมินอยด์สามารถกระตุ้นการทำงานของตับอ่อน ส่งผลให้การหลั่งฮอร์โมนอินซูลินดีขึ้น และไนอะซิน (วิตามินบี 3) สามารถช่วยในการเผาผลาญไขมัน ลดปัญหาต่างๆของระบบย่อยอาหารจากรายงานวิจัยที่ได้ศึกษาสารสกัดจากขมิ้นชันชนิดแคปซูลเพื่อลดน้ำหนักและลดระดับไขมันในเลือดพบว่า สารเคอร์คูมินอยด์สามารถลดไขมันในเลือดและเนื้อเยื่อไขมันในร่างกายเมื่อทดลองในหนู และยังช่วยเพิ่มการหลั่งของกรดน้ำดีและดูแลเรื่องยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างคอเลสเตอรอล
ไนอะซิน (วิตามิน บี3) สามารถช่วยในการเผาผลาญไขมัน ลดปัญหาต่างๆของระบบย่อยอาหาร จากรายงานวิจัยที่ได้ศึกษา สารสกัดจากขมิ้นชัน ชนิดแคปซูลเพื่อลดน้ำหนัก และลดระดับไขมันในเลือด สารเคอร์คูมินอยด์ สามารถลดระดับไขมันในเลือด และเนื้อเยื่อไขมันในร่างกาย อีกทั้งยังช่วยเพิ่มการหลั่งของกรดน้ำดีและยับยั้งยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างคอเลสเตอรอล
จากงานวิจัยที่รวบรวมมานี้สรุปได้ว่า สารสกัดจากมะระขี้นก สารสกัดจากมะเขือเทศและสารสกัดจากขมิ้นชัน ช่วยในเรื่อง....
- ดูแลเบาหวาน
- ดูแลระดับน้ำตาลในเลือด
- ดูแลระดับไขมันในเลือด
- ลดโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
วิธีรับประทาน : รับประทานครั้งละ 2 แคปซูล หลังมื้ออาหาร
คำเตือน : เด็กและสตรีมีครรภ์ ไม่ควรรับประทาน
ขนาดบรรจุ 30 เม็ด เม็ดละ 500 มิลลิกรัม
เลขที่ อย. 50-1-12755-1-0004
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน
ทำความรู้จักกับโรคเบาหวานกัน แถมด้วยวิธีการสังเกตตัวเองว่าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ อาการโรคเบาหวาน 10 สัญญาณควรระวัง เช็คได้ง่ายนิดเดียว
โรคเบาหวาน อยากรู้ว่าตัวเองกำลังกลายเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือไม่ ต้องเช็กอาการเหล่านี้ อย่ามัวแต่ละเลยจนสายเกินแก้อ่านแล้วรีบเช็ก รู้ตัวก่อนจะได้รักษาได้อย่างถูกวิธีค่ะ
โรคเบาหวาน เป็นโรคภัยไข้เจ็บที่คนสมัยนี้ตรวจพบกันมากขึ้น เนื่องจากสภาวะสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้ต้องเร่งรีบอยู่ตลอดเวลา และลืมเอาใจใส่สุขภาพของตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็แทบจะไม่รู้เลยว่าตัวเองเป็นนอกเสียจากว่าจะไปตรวจสุขภาพแล้วจึงจะพบ แต่กว่าจะพบว่าตัวเองเป็นเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงก็ส่งผลมากมายต่อสุขภาพแล้ว แถมพอเป็นแล้วก็ยังไม่รู้อีกว่าตัวเองเป็นเบาหวานประเภทไหน เพราะโรคเบาหวานนั้นก็ยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
โรคเบาหวาน เป็นความผิดปกติทางร่างกายที่เกิดจากการที่ตับอ่อนสร้าง "ฮอร์โมนอินซูลิน" ได้น้อยหรือไม่สามารถสร้างได้เลย ซึ่งฮอร์โมนอินซูลินที่ว่าจะคอยช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลมาใช้เป็นพลังงาน และเมื่อฮอร์โมนอินซูลินในร่างกายไม่เพียงพอก็จะทำให้เกิดการสะสมของน้ำตาลในอวัยวะต่าง ๆ เมื่อน้ำตาลสะสมในเลือดมาก ๆ ก็จะถูกกรองออกมาผ่านทางปัสสาวะนั่นเอง
โดยโรคเบาหวานเป็นโรคที่เรื้อรังและไม่หายขาด รวมทั้งยังเป็นโรคทางพันธุกรรมอีกด้วย นอกจากนี้โรคเบาหวานยังสามารถเกิดขึ้นได้แม้คนในครอบครัวไม่มีประวัติโรคเบาหวาน เพราะปัจจัยต่าง ๆ ในการใช้ชีวิต อย่างเช่น อาหารการกิน สิ่งแวดล้อม การออกกำลังกาย หรือแม้แต่การใช้ยาบางชนิด ก็ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้เช่นกัน
โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ประเภทที่พึ่งอินซูลินและประเภทที่ไม่พึ่งอินซูลิน โดยชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดก็คือ ประเภทที่ 2 หรือประเภทที่ไม่พึ่งอินซูลิน ซึ่งมีความรุนแรงน้อย และมักพบในกลุ่มคนอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ก็อาจจะพบในวัยเด็กหรือวัยหนุ่มสาวได้ โดยประเภทนี้ตับอ่อนจะสามารถสร้างอินซูลินได้แต่ก็สร้างได้น้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้ร่างกายจำเป็นต้องได้รับอินซูลินบ้างเป็นครั้งคราว ทั้งนี้อาการของผู้ป่วยโรคเบาหวานมักจะสังเกตได้ดังนี้
ปัสสาวะบ่อยขึ้น หิวน้ำบ่อยขึ้น
หากคุณเริ่มรู้สึกว่าพักหลัง ๆ คุณลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อยกว่าปกติ โดยเฉพาะในตอนกลางคืน และกระหายน้ำมากกว่าเดิม ขอบอกเลยว่านั่นเป็นสัญญาณของโรคเบาหวานค่ะ นั่นก็เป็นเพราะร่างกายจะต้องขับปริมาณน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าปกติออกมาทางปัสสาวะ และร่างกายก็ต้องการน้ำเพื่อทดแทนของเหลวที่ขับออกไปพร้อมกับน้ำตาล แต่ก็จะเป็นเฉพาะเวลาที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเท่านั้น หากสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้ปกติได้ อาการเหล่านี้ก็จะเบาบางลง
น้ำหนักลด
การที่น้ำหนักลดผิดปกติ ไม่ใช่เรื่องที่ควรละเลยค่ะ เพราะนั่นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางชนิดได้ โดยเฉพาะโรคเบาหวาน การที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะส่งผลให้น้ำหนักดิ่งลงอย่างรวดเร็วประมาณ 5-10 กิโลกรัม ภายในเวลา 2-3 เดือนเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ผลดีกับร่างกายเลย
ส่วนสาเหตุของการที่น้ำหนักลดอย่างรวดเร็วนั้นก็เนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ ทำให้ร่างกายเหมือนอยู่ในสภาวะขาดอาหารและเริ่มดึงโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงานแทน นอกจากนี้การที่ไตทำงานอย่างหนักยังส่งผลให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรีมากเกินไป แถมยังอันตรายต่อไตอีกด้วย
หิวบ่อย กินจุบจิบ
ถ้าเกิดอยู่ดี ๆ คุณกลายเป็นคนชอบกินจุบจิบหรือหิวบ่อยแบบไม่มีสาเหตุละก็ สันนิฐานได้เลยค่ะว่า คุณอาจจะกำลังเป็นโรคเบาหวาน เพราะเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ร่างกายก็จะต้องการอาหารเพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และจะส่งสัญญาณออกมาเป็นความรู้สึกหิวนั่นเอง แต่ถ้าอยากให้แน่ใจว่าป่วยเป็นเบาหวานหรือไม่ก็ควรไปตรวจจะดีกว่า
มีปัญหาที่ผิวหนัง
ผิวแห้งแตก หรืออาการคันบนผิวหนัง เป็นสัญญาณพื้นฐานของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยผู้ป่วยเบาหวานบางรายอาจจะมีรอยดำคล้ำที่บริเวณคอหรือใต้รักแร้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากภาวการณ์ดื้ออินซูลินในร่างกาย ดังนั้นหากพบว่ามีปัญหาผิวหนังดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
บาดแผลหายช้า
หากบาดแผลที่เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อ แผลถูกของมีคมบาด หรือแม้แต่รอยฟกช้ำนั้นหายได้ช้านั่นเป็นสัญญาณที่เห็นได้ชัดว่าคุณกำลังเผชิญกับโรคเบาหวานค่ะ เพราะระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินกว่าปกติของผู้ป่วยเบาหวานจะไปขัดขวางการทำงานของหลอดเลือด โดยจะไปสร้างความเสียหายในหลอดเลือด ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณที่มีบาดแผลได้น้อย หากไม่ระมัดระวังหรือรักษาความสะอาดให้ดี ก็อาจจะกลายเป็นแผลติดเชื้อ และเกิดเนื้อตายได้
ติดเชื้อราง่าย
โรคเบาหวานเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภูมิคุ้มกันของเราอ่อนแอลง ทำให้ร่างกายจะไวต่อการติดเชื้อ และเชื้อราที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานพบบ่อยที่สุดก็คือ เชื้อราแคนดิดา (Candida) เพราะส่วนใหญ่แล้วเชื้อราชนิดต่าง ๆ มักจะเติบโตได้ดีในสภาวะที่อุดมไปด้วยน้ำตาล โดยเฉพาะคุณผู้หญิงอาจติดเชื้อราแคนดิดาได้บ่อยในบริเวณช่องคลอด วิธีการรักษาก็คือ การใช้ยาฆ่าเชื้อและควบคุมระดับน้ำตาล
อ่อนเพลีย อารมณ์ฉุนเฉียว
อาการอ่อนเพลียและอารมณ์ฉุนเฉียวเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยเบาหวานจะต้องเจอเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดจะส่งผลกับทุกระบบการทำงานในร่างกาย แม้แต่กับภาวะทางอารมณ์ แต่ก็ไม่ต้องกังวลจนมากไป เพราะเมื่อร่างกายขับน้ำตาลออกมาทางปัสสาวะจนระดับน้ำตาลในเลือดเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ระบบต่าง ๆ ในร่างกายก็จะกลับมาทำงานได้ดีขึ้น อาการอ่อนเพลียและอารมณ์ที่แปรปรวนก็จะหายไป
มองไม่ชัด
อาการมองเห็นไม่ชัด เห็นแสงวูบวาบ หรือเห็นอะไรลอยไปมาในดวงตา เป็นผลมาจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินไป โดยระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงจะไปทำปฏิกิริยาภายในดวงตา ทำให้เกิดความผิดปกติ แต่ไม่ต้องกังวล เพราะอาการนี้จะไม่เป็นตลอดไปหากสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับปกติได้ แต่ก็ควรที่จะหมั่นตรวจเลือดเพื่อเช็กระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าหากไม่ตรวจเช็กและควบคุมให้ดี ก็อาจจะทำให้มีสิทธิ์ตาบอดได้
รู้สึกชาตามปลายมือปลายเท้า
อาการชาตามปลายมือปลายเท้า เป็นอาการที่แสดงให้เห็นว่าระดับน้ำตาลในเลือดได้เข้าไปทำลายระบบการทำงานของประสาท มักจะเป็นอาการที่เกิดกับคนที่เป็นโรคเบาหวานและมีระดับน้ำตาลสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน วิธีการป้องกันก็คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และควรรับประทานวิตามินบีเพื่อบำรุงประสาทอีกด้วย
น้ำตาลในเลือดสูง
จริงอยู่ที่การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดจะสามารถระบุได้ชัดที่สุดว่าคุณกำลังเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ แต่เราก็ไม่สามารถเชื่อผลการตรวจเลือดในครั้งแรกได้ค่ะ เพราะการตรวจเลือดในครั้งแรก ระดับน้ำตาลที่สูงอาจจะเกิดจากการรับประทานอาหารก็ได้ จึงควรได้รับการตรวจเลือดซ้ำ โดยงดอาหารและน้ำก่อนการตรวจเลือดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
ทั้งนี้ระดับน้ำตาลของคนปกติจะอยู่ที่ประมาณ 99 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หากระดับน้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 100 - 125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรก็ควรระมัดระวัง แต่ถ้าระดับน้ำตาลสูงกกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แม้จะตรวจซ้ำแล้วก็แปลว่าคุณกำลังเป็นโรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน-คุณจะลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานได้ไหม?
อัตราการเกิดโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นปัญหาสุขภาพระดับโลก โรคเบาหวานมี 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
ประเภทที่ 1 ผู้ป่วยเริ่มเป็นเบาหวานตั้งแต่เด็กและในปัจจุบันหมอก็ยังไม่มีวิธีป้องกัน แต่ในบทความนี้จะกล่าวถึงโรคเบาหวาน
ประเภทที่ 2 ผู้ป่วยประเภทนี้คิดเป็น 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานทั้งหมด
สมัยก่อนผู้ใหญ่เท่านั้นที่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 แต่ในปัจจุบันเด็กก็เป็นด้วย แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนบอกว่าสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ได้ ดังนั้น ถ้าคุณรู้เกี่ยวกับโรคที่เป็นภัยเงียบนี้อยู่บ้างก็จะเป็นประโยชน์ต่อคุณ
โรคเบาหวานคืออะไร?
โรคเบาหวานคือ การที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดมากเกินไป ปกติร่างกายมีกระบวนการส่งน้ำตาลผ่านกระแสเลือดไปยังเซลล์ต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนให้เป็นพลังงาน แต่โรคเบาหวานทำให้กระบวนการนี้ทำงานผิดปกติ ผลคืออวัยวะสำคัญๆ ได้รับความเสียหายและทำให้ระบบการไหลเวียนเลือดบกพร่อง บางครั้งอาจถึงขั้นต้องตัดนิ้วเท้าหรือเท้าด้วยซ้ำ นอกจากนั้น โรคเบาหวานอาจทำให้ตาบอด หรือเป็นโรคไตได้ด้วย ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่เสียชีวิตเนื่องจากหัวใจล้มเหลวหรือเส้นเลือดในสมองอุดตัน
ไขมันที่มากเกินไปเป็นสาเหตุหลักของโรคเบาหวานประเภทที่ 2 นี้ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่าไขมันสะสมที่พุงและเอวอาจเป็นตัวบ่งบอกว่ามีความเสี่ยงจะเป็นโรคเบาหวานได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไขมันในตับและตับอ่อนทำให้น้ำตาลในเลือดไม่ปกติ คุณจะลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานได้ไหม?
สามขั้นตอนที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวาน
1. ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดถ้าคุณอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ก่อนที่จะเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ร่างกายจะมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกตินิดหน่อย เรียกว่าภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน ไม่ว่าจะเป็นภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวานหรือเป็นโรคเบาหวานแล้วก็ไม่ดีต่อสุขภาพทั้งนั้น แต่สองอย่างนี้ต่างกันตรงที่ โรคเบาหวานไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดแต่อาจควบคุมได้ ส่วนบางคนที่อยู่ในภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวานสามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ แต่เป็นเพราะไม่มีอาการอะไรบ่งบอกชัดเจน หลายคนจึงไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน รายงานหนึ่งบอกว่า ทั่วโลกมีประมาณ 316 ล้านคนที่อยู่ในภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวานแต่หลายคนไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่น เฉพาะในสหรัฐก็มีถึง 90 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่รู้ตัวว่าตัวเองอยู่ในภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน
อย่างไรก็ตาม ภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวานไม่ใช่ว่าจะไม่เป็นอันตราย เพราะนอกจากจะนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 แล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมอีกด้วย ถ้าคุณมีน้ำหนักตัวเกิน ไม่ค่อยออกกำลังกาย มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน คุณอาจกำลังอยู่ในภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน การตรวจเลือดจะช่วยให้คุณรู้ว่าคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่
2. เลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ คุณจะมีสุขภาพดีขึ้นถ้าพยายามเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์จริง ๆ ลดปริมาณอาหารที่คุณกิน ดื่มน้ำเปล่า ชา หรือกาแฟแทนที่จะดื่มน้ำผลไม้ที่เพิ่มรสหวานและน้ำอัดลม กินขนมปัง ข้าว และพาสต้าที่ไม่ได้ผ่านการขัดสีในปริมาณที่พอเหมาะ กินเนื้อแดง ปลา และถั่วต่างๆ
3. ออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกายลดระดับน้ำตาลในเลือดได้และช่วยให้มีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม ผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งแนะนำว่า เอาเวลาดูทีวีมาออกกำลังกายดีกว่า
คุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงยีนส์ของตัวเองได้ แต่คุณเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตได้เพื่อทำให้คุณมีสุขภาพดีขึ้น การทำอย่างนั้นคุ้มค่าแน่นอน
#modi #โมดิ #เบาหวาน #สมุนไพรสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน #น้ำตาลในเลือด #โรคเบาหวาน
สนใจสั่งซื้อได้ที่ 0851185410
|